วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์

           
บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาล นอกจากต้องพัฒนาบทบาทหน้าที่ ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพเภสัช กรรมโรงพยาบาล ซึ่งกำหนดโดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และต้องปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆ ที่กำหนดโดยสภาเภสัชกรรม แต่ในการทำงานของเภสัชกรในโรงพยาบาลซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นกรรมการ ผู้ช่วยเลขานุการ และเลขานุการในคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่างๆ จำเป็นต้องปะเมินและ พัฒนาตนเอง ให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะบทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในระบบสุขภาพตามที่องค์การอนามัยโลกได้ให้ แนวคิด คือ “Seven-star pharmacist” ซึ่งรายละเอียดของแต่ละคุณลักษณะและบทบาท แสดงไว้ ดังนี้ 1. ผู้ให้การดูแล (Caregiver): เภสัชกรสามารถให้บริการที่เกี่ยวข้องกับงานทางวิชาชีพเภสัชกรรม เช่น ความรู้ทางคลินิก ความรู้ทางเทคโนโลยีเภสัชกรรม การผลิต กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสามารถบูรณาการ ระบบยา การบริการสุขภาพ และพัฒนาการดำเนินการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับบุคลากรสุขภาพ ในวิชาชีพอื่นๆ เภสัชกรที่ควรมีบทบาท 
ผู้ให้การดูแลได้แก่ เภสัชกรที่รับผิดชอบงานบริบาลทางเภสัชกรรมทั้งผู้ป่วย นอก และผู้ป่วยในจำเป็นต้องฝึกฝนพัฒนาบทบาทของผู้ให้การดูแล”2. ผู้สื่อสาร (Communicator): เภสัชกรต้องประสานระหว่างแพทย์ และผู้ป่วย รวมทั้งบุคลากรสุขภาพ อื่นๆ เภสัชกรจึงต้องมีความรู้ ความสามารถ และความมั่นใจในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรสุขภาพและ 3. สมาชิกในชุมชน ทักษะการสื่อสารที่ดีของเภสัชกรจะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ที่ไว้วางใจ และเกิด ความร่วมมือในการดูแลสุขภาพเพราะผู้ป่วยเข้าใจ และยอมรับคำแนะนำจากเภสัชกร เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ผู้สื่อสารได้แก่ เภสัชกรที่รับผิดชอบงานเภสัชสนเทศ มีความจำเป็นที่ต้อง ฝึกฝนทักษะการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบยา รวมทั้งสื่อสารให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าใจได้ง่าย ต่อผู้ป่วยและประชาชน” 3. ผู้ตัดสินใจ (Decision-maker): เภสัชกรสามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิผล เหมาะสม มี ประสิทธิภาพในการเลือกใช้และจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ยา สารเคมี เครื่องมือ กระบวนการ และแนวทางปฏิบัติ เภสัชกรต้องแสดงบทบาทสำคัญในการร่วมกำหนดนโยบายด้านยาทั้งใน ระดับกลุ่มงาน ระดับโรงพยาบาล และระดับชาติ เภสัชกรในโรงพยาบาลต้องร่วมตัดสินใจในการคัดเลือก ว่ายาใดเป็นยาที่เหมาะสมที่จะเข้ามาเป็นยาในบัญชียาโรงพยาบาล เภสัชกรต้องสามารถประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินเลือกกระบวนการรักษาที่เหมาะสม เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ผู้ตัดสินใจได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม และหัวหน้างานต่างๆ ต้องมี ความสามารถในการตัดสินใจภายใต้ข้อมูล และหลักฐานเอกสารเชิงประจักษ์เพื่อการพัฒนาระบบยา และระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย” 4. ผู้นำ(Leader): เภสัชกรต้องมีบทบาทเป็นผู้นำในระบบสุขภาพในการตัดสินใจ สื่อสารและจัดการงาน ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ผู้นำคือ ผู้ที่สามารถสร้างความคิด วิสัยทัศน์ และกระตุ้นทีมให้สามารถ ดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์บทบาทของเภสัชกรที่เป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลต้องสามารถทำให้เกิด คุณภาพการรักษาที่มีคุณภาพสูง ปรับปรุงระบบความปลอดภัยด้านยา และเกิดผลลัพธ์ในการทำงานที่มี ประสิทธิภาพ เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ผู้นำได้แก่ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม และหัวหน้างานต่างๆ ต้องฝึกฝน ตนเองในการเป็นผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างงานนวัตกรรมที่มีประสิทธิผล นำมาพัฒนางาน และ เป็นผู้ที่หมั่นเรียนรู้พัฒนา และส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานให้ร่วมเป็นผู้นำในองค์กร” 5. ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learner): เภสัชกรต้องเรียนรู้ ติดตามข้อมูลวิทยาการต่างๆ ในการดูแล รักษาโรค ความรู้เรื่องยา กฎหมายต่างๆ ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตได้แก่ เภสัชกรทุกคนในกลุ่มงานเภสัชกรรม ต้องพัฒนา ตนเองเป็นผู้ที่เรียนรู้ตลอดชีวิต” 6. ผู้จัดการ (Manager): เภสัชกรต้องทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทั้งทรัพยากร คน เงิน และข้อมูลต่างๆ ที่มี พร้อมทั้งพัฒนาและดูแลนโยบาย แนวปฏิบัติต่างๆ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระบบประกันคุณภาพ ความ ปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและมาตรฐานการควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 4 เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ผู้จัดการได้แก่ เภสัชกรที่ทำงานด้านวิจัยพัฒนา จำเป็นที่ต้องฝึกฝนทักษะ การเป็นผู้จัดการโครงการ งานวิจัยต่างๆ ให้สามารถดำเนินการภายใต้งบประมาณ ระยะเวลา และ ทรัพยากรต่างๆ ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด” 7. ครู (Teacher): เภสัชกรสามารถอบรมและให้ความรู้แก่เภสัชกร ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา รวมทั้ง บุคลากรสุขภาพอื่นๆ ทั้งในเรื่องยา การดูแลรักษาโรค การสร้างเสริมสุขภาพ และเรื่องต่างๆ ที่จะทำให้ เกิดสุขภาวะสำหรับผู้ป่วย เภสัชกรที่ควรมีบทบาท ครูได้แก่ เภสัชกรที่ดูแลการฝึกปฏิบัติงานของนิสิต/นักศึกษา ต้องมีทักษะ ความเป็นครูที่สามารถออกแบบกระบวนการถ่ายทอดความรู้ ประเมินผลการเรียนรู้ รวมทั้งสามารถให้ ความรู้กับประชาชน และบุคลากรในโรงพยาบาล” 
           

ดูบทบาทของอาชีพเภสัชกรในแต่ละสาขา อาทิ เภสัชกรโรงพยาบาล เภสัชกรในโรงงานยา และอื่นๆ ผ่านคลิปวีดีโอ From here You can go everywhere ผลิตและนำแสดงโดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์ของเราได้ที่ตามลิงก์ด้านล่างนี้

https://youtu.be/r2wucf-Cd94

ลักษณะของงานที่ทำ


      
 ค้นคว้าและพัฒนาสูตรยาตำรับใหม่ๆเพื่อขึ้นทะเบียนและส่งสูตรที่สำเร็จแล้วให้ฝ่ายผลิตเพื่อทำการผลิตยาออกจำหน่าย ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ วิเคราะห์ ตรวจสอบยาที่ผลิตให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือตามสูตร เตรียมการผลิตยา เช่นยาน้ำ ยาขี้ผึ้ง ยาผง ยาเม็ดกลม ยาเม็ดแบน แค็ปซูล และยาฉีดตามใบสั่งของแพทย์หรือตามสูตรที่ได้รับการรับรองแล้ว ชี้แจงแก่แพทย์ พยาบาลและผู้ปฏิบัติงานในแขนงอื่นๆ ทางการแพทย์เกี่ยวกับยา เคมีภัณฑ์และการใช้สิ่งนั้นๆ ควบคุมและจ่ายยาเสพติดให้โทษ ยาพิษ และสารพิษที่ต้องการใช้เพื่อการแพทย์ กิจการในบ้าน อุตสาหกรรมหรือเกษตรกรรม และจ่ายสิ่งนั้นๆ ตามกฎข้อบังคับ ทำหน้าที่วิเคราะห์และทดสอบตามปกติ เพื่อให้ทราบชนิดความบริสุทธิ์และความแรงของยา จัดระเบียบและควบคุมรักษายาในคลังทำบัญชีประจำคลังโดยแบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น ยาเสพติดให้โทษ ยาอันตราย ยาสามัญ เคมีภัณฑ์และเครื่องใช้ในการแพทย์ อาจจัดซื้อเวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์และสะสมเครื่องใช้ในการแพทย์ไว้จ่ายแก่คนไข้ และห้องรักษาโรค อาจผลิต จำหน่าย และชี้แจงเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น สุขภัณฑ์ เครื่องสำอาง เคมีภัณฑ์สำหรับเกษตรกรรมและพืชสวน และยาสำหรับสัตว์ ศึกษาวิธีการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ รวมทั้งวิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่นเครื่องจักรที่ใช้ผลิตยา เครื่องมือในการวิเคราะห์ รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือ 
  
สภาพของการทำงาน

    
 ผู้ประกอบอาชีพเภสัชกรอาจต้องทำงานในห้องทดลอง เพื่อปฏิบัติงานด้านปรุงยา จ่ายยาและสิ่งที่เกี่ยวข้องตามใบสั่งหรือสูตร เตรียมหรือควบคุมการผลิตยา  (ยาน้ำ ยาขี้ผึ้ง ยาผง ยาเม็ดกลม ยาเม็ดแบน  แคปซูล  และยาฉีด)  ตามใบสั่งของแพทย์  หรือตามสูตรที่รับรองกันแล้ว ทำการทดสอบยา ต้องอยู่กับสารเคมีที่ต้องใช้ในการทดสอบ ซึ่งสารเคมีในห้องปฏิบัติการทดลองอาจจะทำปฏิกิริยาที่ทำให้เป็นอันตรายได้ ดังนั้น จึงต้องรู้จักวิธีใช้ และวิธีป้องกันรวมทั้งปฏิบัติงานตามขั้นตอนตามระเบียบที่กำหนดไว้ ต้องทำงานในบริเวณที่กำหนด และเป็นบริเวณห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารต้องใช้อุปกรณ์ป้องกัน  เช่น  ถุงมือ  หน้ากาก เป็นต้น  
          เภสัชกรอาจจะทำงานในห้องจ่ายยา  หรือร้านขายยาโดยทำหน้าที่ควบคุมการจัดยาให้ถูกต้องตามแพทย์สั่ง จัดระเบียบควบคุมรักษายาในคลัง และแนะนำคนไข้ในการใช้ยา





การเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์

การเรียนการสอนคณะเภสัชศาสตร์

การเรียน ปี 1



ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร – English for Communication 

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ – Biological Science 

ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ – Biological Science Laboratory 

ฟิสิกส์ระดับมหาวิทยาลัย – University Physics

ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1 – General Physics Laboratory I 

คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ – Mathematics for Health Science 

ทักษะการรู้สารสนเทศ – Information Literacy Skills 

ภาษาอังกฤษทางวิชาการ 1 – English for Academic Purposes I (EAP I) 

เคมีอินทรีย์พื้นฐาน – Basic Organic Chemistry 

ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์พื้นฐาน – Basic Organic Chemistry Laboratory 

เคมีฟิสิกัลเชิงชีวภาพ – Biophysical Chemistry 

นิเทศเภสัชศาสตร์ – Pharmacy Orientation 

กายวิภาคของมนุษย์ – Human Anatomy 

การเรียน ปี 2

ภาษาอังกฤษทางวิชาการ 2 – English for Academic Purposes II (EAP II) 

จุลชีววิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Microbiology for Pharmaceutical Science Students 

ชีวเคมีสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Biochemistry for pharmaceutical Science Students

ปรสิตวิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Parasitology for Pharmaceutical Science Students

เคมีเชิงเภสัชศาสตร์ขั้นพื้นฐาน – Basic Pharmaceutical Chemistry

พื้นฐานทางเภสัชการ – Basic in Pharmaceutics

ปฏิบัติการพื้นฐานทางเภสัชการ – Basic in Pharmaceutics Laboratory

สรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Physiology for Pharmaceutical Science students

วิธีวิจัยทางเภสัชศาสตร์ 1 – Research Methods in Pharmaceutical Sciences I

การวิเคราะห์ยา 1 – Pharmaceutical Analysis I 

เภสัชการ 1 – Pharmaceutics I 

ปฏิบัติการเภสัชการ 1 – Pharmaceutics Laboratory I 

การพัฒนายา – Drug Development7

ชีววิทยาเชิงเภสัชศาสตร์ – Pharmaceutical Biology

การเรียน ปี 3

พยาธิวิทยาสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Pathology for Pharmaceutical Science Students

เภสัชวิทยา 1 สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Pharmacology I for Pharmaceutical Science Students

เภสัชวิทยา 1 สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Pharmacology I for Pharmaceutical Science Students


การบริบาลทางเภสัชกรรม –  Pharmaceutical Care 

การวิเคราะห์ยา 2 – Pharmaceutical Analysis II 

เภสัชการ 2 – Pharmaceutics II 

ปฏิบัติการเภสัชการ 2 – Pharmaceutics Laboratory II 

เภสัชเวท – Pharmacognosy

เภสัชวิทยา 2 สำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ – Pharmacology II for Pharmaceutical Science Students

ชีวเภสัชกรรม – Biopharmaceutic

การจ่ายยาและการให้คำแนะนำ 1 – Dispensing and Counseling I

เภสัชบำบัด 1 – Pharmacotherapeutics I

เภสัชการ 3 – Pharmaceutics III 

ปฏิบัติการเภสัชการ 3 – Pharmaceutics Laboratory III 

เคมีเชิงเภสัชศาสตร์ 1 – Pharmaceutical Chemistry

การเรียน ปี 4
การศึกษาชุมชนสำหรับเภสัชศาสตร์ – Community Study for Pharmacy 

พฤติกรรมสุขภาพและการสื่อสารทางเภสัชกรรม – Health Behavior and Communication in Pharmacy

การบริบาลทางเภสัชกรรมในร้านยา – Pharmaceutical Care in Community Pharmacy

การจ่ายยาและการให้คำแนะนำ 2 – Dispensing and Counseling II 

การจัดการเภสัชกิจขั้นแนะนำ – Introduction to Pharmacy Management

เภสัชบำบัด 2 – Pharmacotherapeutics II

เภสัชการ 4 – Pharmaceutics IV

ปฏิบัติการเภสัชการ 4 – Pharmaceutics Laboratory IV

เคมีเชิงเภสัชศาสตร์ 2 – Pharmaceutical Chemistry II

เทคโนโลยีชีวภาพทางเภสัชศาสตร์ – Pharmaceutical Biotechnology 

การประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมยา – Quality Assurance in Drug Manufacturing

บูรณาการความรู้วิชาชีพเภสัชกรรม – Integrate professional pharmacy

นิติเภสัชศาสตร์ – Pharmacy Jurisprudence

การจ่ายยาและการให้คำแนะนำ III – Dispensing and Counseling III 

เภสัชบำบัด 3 – Pharmacotherapeutics III

เภสัชเศรษฐศาสตร์ขั้นแนะนำ – Introduction to Pharmacoeconomics

เภสัชระบาดวิทยาขั้นแนะนำ – Introduction to Pharmacoepidemiology

พิษวิทยา – Toxicology 

การเรียน ปี 5

วิธีวิจัยทางเภสัชศาสตร์ 2 – Research Methods in Pharmaceutical Sciences II 

วิธีการประเมินค่ายาใหม่ – Methods for Evaluation of New Drug  –

ภาษาอังกฤษเชิงวิชาชีพสำหรับเภสัชกร (Professional English for Pharmacist)

วิชาเฉพาะสาขา (วิชาบังคับและวิชาเลือกในสาขา)

การเรียน ปี 6
ฝึกงานตามสาขที่เลือกเรียน



การเตรียมตัวสอบคณะเภสัชศาสตร์

ศึกษาหลักสูตรและรายละเอียดคณะเภสัชศาสตร์

       หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรวิชาชีพได้รับการรับรอง มาตรฐานจากสภาเภสัชกรรม มีเป้าหมายในการผลิตเภสัชกรที่มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีงามในการ ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาชีพชั้นสูง การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับ 21st century skill outcomes ในระดับสากล ชั้นปีที่ 1-4 เน้นความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมขั้นพื้นฐาน ชั้นปีที่ 5 และ 6 สามารถเลือกเรียนด้านเภสัชอุตสาหการ (การผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร อาหาร เครื่องสำอาง เป็นต้น ) และด้านบริบาลทางเภสัชกรรม (การดูแลการใช้ยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ร้านขายยา งานคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น) นักศึกษาชั้นปีที่ 6 จะได้ฝึกทักษะการปฏิบัติงานวิชาชีพในแหล่งฝึกงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาระดับแนวหน้าของประเทศ โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่เป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศรวมถึงร้านยา คุณภาพ การสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้ นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2,000 ชั่วโมง และต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 225 หน่วยกิต


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

แล
    เพื่อให้การศึกษาเภสัชศาสตร์ทั้งด้านพื้นฐานและด้านวิชาชีพ อันจะทำให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม โดยบัณฑิตเภสัชศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติดังนี้




  1. มีความรู้เกี่ยวกับสารหรือวัตถุที่นำมาใช้เป็นยาในกลุ่มต่างๆ ทางเภสัชศาสตร์ ทั้งแหล่งที่มา เคมีของยา การออกฤทธิ์ของยา เพื่อให้สามารถประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพในระดับประเทศและสากล
  2. มีความสามารถและทักษะในการตั้งตำรับยา การผลิตยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ รวมไปถึงการควบคุมและประกันคุณภาพ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล
  3. มีความสามารถและทักษะในการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม ตั้งแต่การประเมินสภาวะของผู้ป่วยเบื้องต้น การค้นหาปัญหาทางยา การแก้ปัญหาทางยา การกำหนดแผนการดูแลผู้ป่วยทางยา การให้คำแนะนำระหว่างการจ่ายยา และการวางระบบยาให้เกิดการใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และพอเพียง
  4. มีความสามารถและทักษะในการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่นๆ ที่เหมาะสมตามความต้องการของผู้ป่วยเฉพาะราย และบุคลากรสาธารณสุขอย่างถูกต้อง ทันสมัย และเชื่อถือได้
  5. มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค้นหาข้อมูล คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ทางเภสัชศาสตร์เพื่อเป็นรากฐานสำหรับการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต
  6. มีความรู้ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของชุมชน และการป้องกันโรค
  7. มีคุณธรรม จริยธรรม และปฏิบัติตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม

ศึกษาแนวทางประกอบอาชีพเภสัชกร


       ผู้เข้าศึกษาจะมีความรู้ทางด้านเภสัชศาสตร์ และเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วจะสามารถประกอบอาชีพใน สาขาต่างๆ ทั้งในหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ดังนี้

  • เภสัชกรโรงพยาบาลในสถานพยาบาลทุกระดับ ทั้งภาครัฐและเอกชน
  • เภสัชกรชุมชน
  • เภสัชกรประจำโรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในด้านการผลิต ตรวจวิเคราะห์ ประกันคุณภาพ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • เภสัชกรด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เภสัชกรที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลมาตรฐานของโรงงานและผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ เภสัชกรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  • เภสัชกรด้านการศึกษา เช่น อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์
  • เภสัชกรด้านการวิจัยผลิตภัณฑ์ทางคลินิก
  • เภสัชกรด้านการขึ้นทะเบียนยา
  • เภสัชกรการตลาด

คณะเภสัชศาสตร์คืออะไร

เภสัชศาสตร์ 

เภสัชศาสตร์  ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรคโดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอางค์ผลิดภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  สารเสพติด  สารพิษ  และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ
เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช  สัตว์ และเเร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียนและได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครติส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพพรดิพีริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น
เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวทเภสัชเคมี เถสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตาสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชคลีนิคและเภสัชกรรมโรงพยาบาลและด้านเภสัชสาธารณสุขเภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่องยา

ประวัติ
การศึกษาเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการบริบาลเมื่อเจ็บป่วยของสัตว์ป่า จนเกิดการสั่งสมองค์ความรู้แล้วถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ในสมัยโบราณ การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนทางการแพทย์ อาศัยตำราที่บรรพบุรุษสั่งสมมาจัดทำเป็นเภสัชตำรับถือเป็นหลักในการศึกษา พร้อมกันนั้นได้มีการศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรนานาชนิดที่นำมาปรุงเป็นยา ทั้งพืช สัตว์ และแร่ธาตุ
ในสมัยกรีกโบราณเริ่มมีการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยฮิปโปเครติส บิดาแห่งวิชาการแพทย์ยุโรป มีการจัดระเบียบวิชาการแพทย์ในลักษณะวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีหลักเหตุผลถึงสาเหตุของโรคที่มิใช่จากการลงโทษของพระเจ้า เขาใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการรักษาและมีการสอนความรู้ของเขาต่อลูกศิษย์ซึ่งต้องปฏิญาณตนตามคำปฏิญาณของฮิปโปเครตีส (Hippocratic Oath) ความรู้ทางการแพทย์ของกรีกยังถ่ายทอดไปยังโรมัน นักการแพทย์ที่สำคัญในโรมันคือกาเลน เขายึดถือหลักของฮิปโปเครติสในการศึกษาทางการแพทย์และเภสัชกรรม เขามักปรุงยาด้วยตนเองเสมอและได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักโดยแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก การผสมผสานองค์ความรู้เรื่องยาใหม่ๆ โดยใช้ยาหลากหลายขนานในการผสมเป็นตัวยาชนิดใหม่ ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม"
เมื่อโรมันสูญสิ้นอำนาจแล้ว องค์ความรู้ได้ถ่ายทอดไปยังชาวอาหรับที่มักแปลตำราของกรีกเป็นภาษาอาหรับ และมีการค้นพบยาตัวใหม่ที่พบได้จากทะเลทราย ทำให้เกิดองค์ความรู้ทางเภสัชกรรมใหม่อย่างกว้างขวาง และมีการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์อย่างเป็นระบบในชนชั้นสำคัญของสังคม มีการเปิดร้านยาสาธารณะในความควบคุมของรัฐบาลต่อมา เมื่อองค์ความรู้ได้ขยายไปยังจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรมกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องฝึกปฏิบัติวิชาชีพในร้านยาอย่างน้อย 4 - 10 ปีและต้องสอบเป็นเภสัชกรกับรัฐ ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่ได้ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 การเรียนรู้ทางเภสัชศาสตร์โดยการฝึกปฏิบัติวิชาชีพได้เปลี่ยนข้อกำหนดเป็นการเรียนผ่านเตรียมอุดมศึกษาหรือวิทยาศาสต์พื้นฐาน และมีการจัดตั้งสถาบันที่รับผิดชอบการผลิตเภสัชกร เริ่มต้นในฝรั่งเศส มีการจัดตั้งโรงเรียนเภสัชกรรมในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1777และการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และอาหาร มหาวิทยาลัยเออร์แลนเกน-นูเร็มเบิร์ก (University of Erlangen-Nuremberg) ในปี ค.ศ. 1808 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนบทบาทเภสัชกรจากเดิมที่เภสัชกรต้องรับผิดชอบทุกด้านของเภสัชกรรม เป็นการฝึกความชำนาญเฉพาะสาขาของเภสัชกรรมให้กับนักเรียนเภสัชกรรม อาทิ เภสัชอุตสาหกรรม  เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น

เภสัชศาสตร์ ในประเทศไทย

เภสัชศาสตร์ในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์มาอย่างยาวนาน โดยศึกษาตำราสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในตำรายา มีบันทึกในจดหทายเหตุลาลูแบร์ว่าหมอไทยไม่มีความพยายามที่จะศึกษาคุณสมับติของสรรพคุณสมุนไพรชนิดใหม่ๆ และหลักการรักษาของหมอไทยไม่นับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เริ่มแยกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม ด้วยการตั้งกรมพระเครื่องต้นซึ่งทำหน้าที่การปรุงโอสถแยกกับกรมหมอ
การจัดการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์แบบตะวันตกเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนแพทยาลัยในขณะนั้น ทรงเห็นความสำคัญในเรื่องการฝึกหัดทางเภสัชกรรมในแบบตะวันตก จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาขึ้น ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์โดยในระยะเริ่มแรกได้ใช้สถานที่ทำการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ศิริราชบริบาล มหาวิทยาลัยมหิดลล เป็นที่ทำการสอน ขณะนั้น การศึกษาทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนนัก จนกระทั่งเหตุการณสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศตระหนักถึงบทบาทเภสัชกรและยา จึงมีการตั้งสถานศึกษาทางเภสัชศาสตร์เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสถาบัน

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์              บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาล นอกจากต้องพัฒนาบทบาทหน้าที่ ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพเภสัช กรรมโรงพย...