วันศุกร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560

คณะเภสัชศาสตร์คืออะไร

เภสัชศาสตร์ 

เภสัชศาสตร์  ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรคโดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอางค์ผลิดภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  สารเสพติด  สารพิษ  และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ
เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช  สัตว์ และเเร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียนและได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครติส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพพรดิพีริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น
เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวทเภสัชเคมี เถสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฎิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตาสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชคลีนิคและเภสัชกรรมโรงพยาบาลและด้านเภสัชสาธารณสุขเภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่องยา

ประวัติ
การศึกษาเภสัชศาสตร์เกิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการบริบาลเมื่อเจ็บป่วยของสัตว์ป่า จนเกิดการสั่งสมองค์ความรู้แล้วถ่ายทอดสู่ลูกหลาน ในสมัยโบราณ การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอนทางการแพทย์ อาศัยตำราที่บรรพบุรุษสั่งสมมาจัดทำเป็นเภสัชตำรับถือเป็นหลักในการศึกษา พร้อมกันนั้นได้มีการศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรนานาชนิดที่นำมาปรุงเป็นยา ทั้งพืช สัตว์ และแร่ธาตุ
ในสมัยกรีกโบราณเริ่มมีการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์อย่างเป็นระบบมากขึ้น โดยฮิปโปเครติส บิดาแห่งวิชาการแพทย์ยุโรป มีการจัดระเบียบวิชาการแพทย์ในลักษณะวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีหลักเหตุผลถึงสาเหตุของโรคที่มิใช่จากการลงโทษของพระเจ้า เขาใช้ยาสมุนไพรร่วมกับการรักษาและมีการสอนความรู้ของเขาต่อลูกศิษย์ซึ่งต้องปฏิญาณตนตามคำปฏิญาณของฮิปโปเครตีส (Hippocratic Oath) ความรู้ทางการแพทย์ของกรีกยังถ่ายทอดไปยังโรมัน นักการแพทย์ที่สำคัญในโรมันคือกาเลน เขายึดถือหลักของฮิปโปเครติสในการศึกษาทางการแพทย์และเภสัชกรรม เขามักปรุงยาด้วยตนเองเสมอและได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักโดยแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำราชสำนัก การผสมผสานองค์ความรู้เรื่องยาใหม่ๆ โดยใช้ยาหลากหลายขนานในการผสมเป็นตัวยาชนิดใหม่ ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้เป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม"
เมื่อโรมันสูญสิ้นอำนาจแล้ว องค์ความรู้ได้ถ่ายทอดไปยังชาวอาหรับที่มักแปลตำราของกรีกเป็นภาษาอาหรับ และมีการค้นพบยาตัวใหม่ที่พบได้จากทะเลทราย ทำให้เกิดองค์ความรู้ทางเภสัชกรรมใหม่อย่างกว้างขวาง และมีการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์อย่างเป็นระบบในชนชั้นสำคัญของสังคม มีการเปิดร้านยาสาธารณะในความควบคุมของรัฐบาลต่อมา เมื่อองค์ความรู้ได้ขยายไปยังจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 13สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรมกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต้องฝึกปฏิบัติวิชาชีพในร้านยาอย่างน้อย 4 - 10 ปีและต้องสอบเป็นเภสัชกรกับรัฐ ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่ได้ใช้เรื่อยมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 การเรียนรู้ทางเภสัชศาสตร์โดยการฝึกปฏิบัติวิชาชีพได้เปลี่ยนข้อกำหนดเป็นการเรียนผ่านเตรียมอุดมศึกษาหรือวิทยาศาสต์พื้นฐาน และมีการจัดตั้งสถาบันที่รับผิดชอบการผลิตเภสัชกร เริ่มต้นในฝรั่งเศส มีการจัดตั้งโรงเรียนเภสัชกรรมในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1777และการจัดตั้งคณะเภสัชศาสตร์และอาหาร มหาวิทยาลัยเออร์แลนเกน-นูเร็มเบิร์ก (University of Erlangen-Nuremberg) ในปี ค.ศ. 1808 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนบทบาทเภสัชกรจากเดิมที่เภสัชกรต้องรับผิดชอบทุกด้านของเภสัชกรรม เป็นการฝึกความชำนาญเฉพาะสาขาของเภสัชกรรมให้กับนักเรียนเภสัชกรรม อาทิ เภสัชอุตสาหกรรม  เภสัชกรรมโรงพยาบาล เภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น

เภสัชศาสตร์ ในประเทศไทย

เภสัชศาสตร์ในประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์มาอย่างยาวนาน โดยศึกษาตำราสมุนไพรที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในตำรายา มีบันทึกในจดหทายเหตุลาลูแบร์ว่าหมอไทยไม่มีความพยายามที่จะศึกษาคุณสมับติของสรรพคุณสมุนไพรชนิดใหม่ๆ และหลักการรักษาของหมอไทยไม่นับว่าเป็นวิทยาศาสตร์ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เริ่มแยกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม ด้วยการตั้งกรมพระเครื่องต้นซึ่งทำหน้าที่การปรุงโอสถแยกกับกรมหมอ
การจัดการเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์แบบตะวันตกเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนแพทยาลัยในขณะนั้น ทรงเห็นความสำคัญในเรื่องการฝึกหัดทางเภสัชกรรมในแบบตะวันตก จึงทรงจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยาขึ้น ปัจจุบันคือคณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์โดยในระยะเริ่มแรกได้ใช้สถานที่ทำการสอนของคณะเภสัชศาสตร์ศิริราชบริบาล มหาวิทยาลัยมหิดลล เป็นที่ทำการสอน ขณะนั้น การศึกษาทางเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนนัก จนกระทั่งเหตุการณสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศตระหนักถึงบทบาทเภสัชกรและยา จึงมีการตั้งสถานศึกษาทางเภสัชศาสตร์เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายสถาบัน

1 ความคิดเห็น:

  1. It is no secret that I have a very deep and personal relationship with God. I have pushed and resisted that relationship this past year through all the bullshit I have had to go through living with Herpes but once again, God is bigger than my stubbornness and broke through that outbreak cold sore and all I had Genital Herpes. For me personally, hearing over and over how I am not good enough has really invaded my mind in the worst way possible. I completely shut down and I was just waking up like is this how life going to end this temporary herpes outbreak “fuck everybody with herpes if you know what I mean” but let's be honest here...
    It is a cowardly to say no to herbal medicine. It is fear based. And it is dishonest to what my heart wants. Don't build a wall around yourself because you are afraid of herbals made or taking a bold step especially when it's come to health issues and getting cure. So many young men/ women tell me over and over that Dr Itua is going to scam me but I give him a try to today I feel like no one will ever convince me about herbal medicine I accept Dr Itua herbal medicine because it's cure my herpes just two weeks of drinking it and i have been living for a year and months now I experience outbreak no more, You can contact him if you need his herbal medicine for any such diseases like, Herpes, Schizophrenia,Cancer,Scoliosis,Fibromyalgia,Fluoroquinolone Toxicity Syndrome Fibrodysplasia Ossificans Progressiva.Fatal Familial Insomnia Factor V Leiden Mutation ,Epilepsy Dupuytren's disease,Desmoplastic,Diabetes ,Coeliac disease,Creutzfeldt–Jakob,,Lyme Disease,Epilepsy, ,ALS,Hepatitis,Copd,Parkinson disease.Genetic disease,Fibrodysplasia disease,Fibrodysplasia Ossificans Men/Woman infertility, bowel disease ,Huntington's disease ,Diabetes,Fibroid. disease,Lupus,Lipoid Storage diseases( Gauchers disease),Polycystic Disease.,Cerebral Amyloid Angiopathy, Ataxia,Cirrhosis of Liver,Arthritis,Amyotrophic Lateral Sclerosis,Alzheimer's disease,Adrenocortical carcinoma.Asthma,Allergic,HIV, Epilepsy, Infertility, Love Spell,. Email..drituaherbalcenter@gmail.com then what's app.+2348149277967.... My advice to any sick men/women out there is simple... Be Always an open book. Be gut wrenching honest about yourself, your situation, and what you are all about. Don't hold anything back. Holding back will get you nowhere...maybe a one way ticket to lonelyville and that is NOT somewhere you want to be. So my final truth...and I'm just starting to grasp this one..

    ตอบลบ

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์

บทบาทหน้าที่ของคณะเภสัชศาสตร์              บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรโรงพยาบาล นอกจากต้องพัฒนาบทบาทหน้าที่ ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพเภสัช กรรมโรงพย...